พระพุทธศาสนา

หลักธรรมที่เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวัน


หลักคิด 16 ข้อ  ซึ่งบรรจุอยู่ใน

พรหมวิหาร   อิทธิบาท4   อริยสัจ4   และสังคหวัตถุ 4  

 

พรหมวิหาร 4” หลักธรรมประจำใจ

 

พรหมวิหาร 4   ประกอบด้วย

ความเมตตา  กรุณา  มุทิตา  และอุเบกขา 

เพื่อให้ชีวิตตนเอง  ครอบครัวและคนรอบข้าง 

เกิดความร่มเย็นเป็นสุขไปทั่ว

 

1. เมตตา  :  ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุขทั้งทางกายและใจ

2. กรุณา   :  
ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ทั้งทางกายและใจเช่นกัน

3. มุทิตา   :  
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีในเรื่องต่างๆ  โดยไม่คิดริษยา

4.อุเบกขา :  
การรู้จักวางเฉย  หรือวางใจเป็นกลาง เพื่อพิจารณา 

สิ่งต่างๆ ไม่ซ้ำเติมผู้ที่ตกอับ พร้อมกับมีน้ำใจให้ความ 

ช่วยเหลือตามสมควร  

 

อิทธิบาท 4” หลักธรรมเพื่อความสำเร็จ

อิทธิบาท  แปลว่าบาทฐานแห่งความสำเร็จ 
หมายถึงสิ่งซึ่งมีคุณธรรม เพื่อให้ลุถึงความสำเร็จ
ตามที่ตั้งใจ  ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด  ต้องทำตน
ให้สมบูรณ์  โดยมีพื้นฐานจาก 
ข้อนี้

 

5. ฉันทะ  :  
ความพอใจในสิ่งที่ตนมี  ตนเป็น  ไม่ต้องการอยากได้ 

ใคร่มีมากเกินไป ซึ่งจะนำมาสู่ความโลภ

6. วิริยะ :

ความพากเพียรในสิ่งนั้น ไม่ย่อท้อง่ายๆ เมื่อพบกับอุปสรรค

 

 7. จิตตะ :

ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ ไม่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคันง่ายๆ

มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นๆ

 

8. วิมังสา  : 

ความมีเหตุมีผลในเรื่องนั้นๆ  ความรู้จริงด้วยการศึกษา

อย่างลึกซึ้งถ่องแท้ เพื่อความเข้าใจ และความสำเร็จ 


อริยสัจ 4”  ความจริงแห่งชีวิต

เป็นความจริง ประการที่ทุกคนต้องเคยพบ 
คือการมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์  ความดับทุกข์ 
และหนทางไปสู่ความดับทุกข์
 
 

 

9.  ทุกข์  "ความทุกข์เกิดขึ้นได้จากภาวะเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย "

ความไม่สมหวังทั้งปวง รวมไปถึงความสูญเสีย ความ

โกรธ  ความริษยา  อาฆาต  ความวิตกกังวล  ความกลัว 

ความอยาก  ความยึดมั่นถือมั่น  การพรัดพราก ฯลฯ 

เหล่านี้ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น


10. สมุทัย 

เหตุแห่งทุกข์  คือการพิจารณาถึงที่มาของทุกข์นั้นว่า
เพราะอะไร  เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

11. นิโรธ  ความดับทุกข์  เมื่อรู้ต้นเหตุของความทุกข์แล้ว ก็ต้อง
หาทางกำจัดเสีย  ทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก  หรือเกิดก็
น้อยลง  โดยการทำความเข้าใจและยอมรับความจริง
ของชีวิต

 

12. มรรค  
หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์  คือการใช้ชีวิตอย่างมีสติ
 เพื่อให้เกิดปัญญา ที่จะชี้นำไปสู่หนทางของการพ้นทุกข์ 
 


สังคหวัตถุ 4”  เพื่อการยึดเหนี่ยวจิตใจ

หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น
เป็นการผูกไมตรีด้วยการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน

 

13. ทาน  :  
การให้  การเสียสละ  การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว  ไม่ยึดติดวัตถุ  และ
คำนึงเสมอว่าไม่มีสิ่งใดยั่งยืน

 

14. ปิยวาจา : 
การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน  จริงใจ
ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์
เหมาะกับกาลเทศะ ถือเป็นบันไดขั้นแรกในการ
สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

 

15. อัตถจริยา การให้ความช่วยเหลือด้วยจิตในที่เป็นกุศล

 

16. สมานัตตา : 
การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ  โดยประพฤติตัวให้มี
ความเสมอต้นเสมอปลาย  ช่วยให้เป็นคนจิตใจ
หนักแน่น  ไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความ
นิยม  และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น